Slide 1

10 เมษายน 2567

โดย RIPED และ EEF

สถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย (RIPED) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ร่วมกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (EEF)

ขอเรียนเชิญนักวิจัยและผู้สนใจเข้าร่วมงานสัมมนา Human Capital Development Seminars
โดย Professor Antonio Cabrales (Universidad Carlos III de Madrid)
นำเสนอบทความเรื่อง “Does Dual Vocational Education and Training Pay Off?”
วันพุธที่ 10 เมษายน 2567 เวลา 10.30-12.00 น.
ณ อาคาร 21 ชั้น 7 ห้องประชุม UC-UTCC มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

Slide 1

6 พฤศจิกายน 2566

โดย The Potential

‘ทักษะที่ขาดหาย’ ความ(ไม่)พร้อมของเด็กปฐมวัย จากการสำรวจ School Readiness Survey: รศ.ดร.วีระชาติ กิเลนทอง

“การสำรวจข้อมูลอาจไม่ทำให้ชีวิตชาวบ้านดีขึ้น แต่ต้องไม่ลืมว่าก่อนที่จะมีคำตอบต้องรู้สาเหตุ สิ่งแรกที่อยากฝากคือคำกล่าวของ Lord Kelvin ผู้พัฒนามาตรฐานการวัดอุณหภูมิสัมบูรณ์ หรือระบบเคลวิน (Kelvin) ที่ว่า ‘If you cannot measure it, you cannot improve it.’ ถ้าเราวัดไม่ได้ ลืมมันได้เลยว่าเราจะแก้ได้ และนั่นคือ check point ที่ทีมวิจัยพยายามทำ เพราะเทอร์โมมิเตอร์ไม่ใช่ยา แก้ปัญหาให้คนเป็นไข้ไม่ได้ แต่เราใช้เทอร์โมมิเตอร์ตลอดเวลาเพื่อบอกว่าเรามีปัญหาไหม เช่นเดียวกับงานวิจัย เราไม่มีคำตอบจากการเก็บข้อมูล แต่ในทางกลับกันเราหวังว่าข้อมูลจะนำไปสู่ความเข้าใจในรากของปัญหาที่ชัดเจนขึ้น”

Slide 1

29 ตุลาคม 2566

โดย กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)

พัฒนาทุนมนุษย์ช่วงปฐมวัย หนทางลดความเหลื่อมล้ำที่ยั่งยืน เปิดผลลัพธ์งานวิจัย Thailand School Readiness Survey เช็คความพร้อมเด็กไทยก่อนขึ้นชั้นประถม

ผลทดสอบกลุ่มตัวอย่างราว 10 เปอร์เซ็นต์ของเด็กปฐมวัยทั่วประเทศชี้ว่า ประเทศไทยมีเด็กเล็กช่วงวัยก่อนประถมศึกษาจำนวนมากมีทักษะการเรียนรู้อยู่ในระดับที่น่ากังวล โดยเฉพาะความพร้อมด้านความเข้าใจในการฟัง การต่อรูปภาพในใจ และความจำใช้งาน อันเป็นทักษะพื้นฐานสำคัญซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้อื่นๆ

รศ.ดร.วีระชาติ กิเลนทอง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย (RIPED) และคณบดีคณะการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุถึงแง่มุมหนึ่งจากผลลัพธ์ของงานวิจัยสำรวจความพร้อมในการเข้าสู่ระบบการศึกษาของเด็กปฐมวัย (Thailand School Readiness Survey: TSRS) ซึ่งมีนัยสำคัญต่อการประเมินปัญหา และเป็นข้อมูลตั้งต้นของการหาแนวทางพัฒนาเด็กปฐมวัยไทยในภาพรวม

Slide 1

25 ตุลาคม 2566

โดย กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)

Equity Forum 2023 “ทุนมนุษย์เพื่อยุติความเหลื่อมล้ำ”

“สิ่งที่แบบทดสอบกำลังบอก คือชุดทักษะที่เราต้องการให้เด็กแสดงให้เห็นนั้นไม่ใช่เรื่องยากและซับซ้อน แต่มันได้ยืนยันว่าถ้าเด็กปฐมวัยไม่ได้รับการลงทุนด้านคุณภาพการศึกษาที่เหมาะสม ทั้งจากครอบครัวและโรงเรียน เด็กจะเจอกับปัญหาอุปสรรคแม้ในการทำสิ่งที่เป็นเรื่องพื้นฐานง่ายๆ และจะมีผลสืบเนื่องระยะยาวในขั้นถัดไปของการเรียนรู้”
ผลลัพธ์งานวิจัย Thailand School Readiness Survey เช็คความพร้อมเด็กไทยก่อนขึ้นชั้นประถม โดย รศ.ดร.วีระชาติ กิเลนทอง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย (RIPED) และคณบดีคณะการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
📌 ส่วนหนึ่งของ งานสัมมนาทางวิชาการประจำปี “Equity Forum 2023 ทุนมนุษย์ยุติความเหลื่อมล้ำ”

Slide 1

14 พฤษภาคม 2566

โดย THE STANDARD TEAM

กสศ. เปิด 5 ประเด็นการศึกษาจากนักวิชาการ ที่พรรคการเมืองไม่ได้เสนอ แต่รัฐบาลใหม่ควรทำ

การพัฒนาและเตรียมระบบการศึกษาให้ตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนทุกกลุ่ม สามารถแก้ปัญหาการศึกษาด้านต่างๆ อย่างยั่งยืน สร้างรากฐานที่แข็งแกร่ง สร้างหลักประกันอนาคตของประเทศได้ ยังคงเป็นงานที่ท้าทายความสามารถซึ่งกำลังรอให้รัฐบาลใหม่เข้ามาดูแล
ในสนามหาเสียงโค้งสุดท้ายพบความโดดเด่นทางนโยบายที่เกือบทุกพรรคให้ความสำคัญไปที่สวัสดิการสนับสนุนโอกาสเข้าถึงการศึกษา ทว่าความชัดเจนเรื่องความเสมอภาคยังมีอะไรบ้างที่ควรเสนอในวาระที่ประเทศไทยจะมีรัฐบาลชุดใหม่
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ชวนเครือข่ายนักวิชาการเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาร่วมจับกระแสข้อเสนอนโยบายด้านการศึกษา เพื่อรับมือกับปัญหาในอนาคตเหล่านี้

previous arrowprevious arrow
next arrownext arrow

This paper estimates the contemporaneous effects of the real minimum wage on wage, labor income, total compensation, overtime income, working hours, and disemployment using individual-level panel data, created from the matched-outgoing rotation group (matched-ORG) of the Labor Force Survey of Thailand between 2002 and 2013. We found that real wage and real total compensation were positively correlated with real minimum wage for both the gradual decline period (2002-2011) and the big jump period (2012-2013). Working hours were negatively correlated for the first period but positively correlated for the second one, while the opposite was true for the disemployment effect.

Using a large-scale school readiness survey in Thailand, this paper presents empirical evidence of learning losses from school closure due to the COVID-19 pandemic for kindergartners. Overall results indicate that school closure during the outbreak of COVID-19 causes significant learning losses in cognitive skills, especially in mathematics and working memory. The negative impact is heterogeneous across several dimensions, including child gender, special needs, wealthprivate tutoring, caregiver education, and parental absence. This paper also estimates daily learning gains, of which significant results confirm that going to school has significantly benefited young children, especially in receptive language, mathematics, and working memory.

ทำไมต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย ยังเล็กเกินไปสอนอะไรก็ยังไม่ได้ ทำอะไรยังไม่เป็น และต้องรอนานมากกว่าจะเห็นผล? เป็นคำถามที่ผมได้รับมาตลอดช่วงเวลาเกือบสิบปี ที่พยายามพัฒนาเด็กปฐมวัยในประเทศไทย สังคมไทยมักให้ความสำคัญกับการเรียนในระดับประถมและมัธยมมากกว่า ผู้ปกครองต้องจ่ายเงินจำนวนมากเพื่อให้บุตรหลานได้ติวเพื่อสอบเข้าโรงเรียนดังๆ หรือมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง จึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจว่า ผู้บริหารการศึกษาระดับประเทศไปจนถึงระดับโรงเรียนจึงไม่ค่อยเห็นความสำคัญของการศึกษาระดับปฐมวัย หากท่านเจอผู้อำนวยการโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนทั้งระดับปฐมวัยและระดับประถมศึกษา ผมมั่นใจว่า กว่าร้อยละ 90 จะต้องพูดถึงแต่การศึกษาระดับประถมศึกษาเป็นหลัก

Close Bitnami banner
Bitnami