โครงการ Skill Mismatch

เพื่อศึกษาปัจจัยและวิธีการเลือกอาชีพของแรงงานในประเทศไทย

การได้ทำงานในงานที่เหมาะสมกับทักษะหรือคุณลักษณะของแรงงาน เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้แรงงานพัฒนาศักยภาพของตนได้อย่างเต็มที่ หากแต่ว่า ในความเป็นจริง มีแรงงานจำนวนไม่น้อยที่ทำงานไม่ตรงกับทักษะของตน ซึ่งทำให้มีปัญหา “Skill Mismatch” จึงเกิดคำถามว่า อะไรคือสาเหตุ ที่แรงงานไม่ได้ทำงานตรงกับทักษะของเขา

วีดีโอแนะนำโครงการ

คำนำโครงการ

โครงการวิจัย “Skill Mismatch” เป็นโครงการที่ศึกษาเรื่องปัจจัยและวิธีการเลือกอาชีพของคนรุ่นใหม่ในประเทศไทย
โดยเฉพาะในกลุ่มคนจบใหม่ในระดับปริญญาตรี
โดยเป็นความร่วมมือกันระหว่าง สถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย (RIPED) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
และ มหาวิทยาลัย University College London (สหราชอาณาจักร) และได้รับเงินทุนวิจัยสนับสนุนจาก UK Research and Innovation

หลักการและเหตุผลของโครงการ

การเลือกอาชีพตามทักษะหรือความถนัดนั้น มีความสำคัญกับรายได้ และ การเติบโตในหน้าที่การงานอย่างมาก หากแต่ว่า ในความเป็นจริง ตลาดแรงงานในหลายประเทศประสบกับภาวะที่เรียกว่า Skill Mismatch ซึ่งคือการทำงานไม่ตรงกับความถนัดของแรงงานพบได้ในหลายประเทศ ยิ่งไปกว่านั้นคือ กลุ่มแรงงานที่มีอายุน้อย คือกลุ่มที่ได้รับผลเสียดังกล่าวมากกว่ากลุ่มอายุอื่น ๆ

ดังนั้น การทำความเข้าใจถึงสาเหตุปัจจัยของการทำงานที่ไม่ตรงกับทักษะ หรือความถนัด จึงเป็นโจทย์วิจัยที่สำคัญต่อการออกแบบนโยบายเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพและยกระดับรายได้ของแรงงานไทย

วิธีการศึกษาของโครงการ

(1) จัดดำเนินการทำแบบสำรวจกับนิสิตนักศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย ในชั้นปีสุดท้าย เพื่อให้ทราบถึง การตัดสินใจในการเลือกงานหลังจากจบการศึกษา การวัดระดับทักษะด้านต่าง ๆ วิธีการหางาน รวมถึง การติดตามสำรวจต่อเนื่องเพื่อให้ทราบถึง การทำงานและการเปลี่ยนแปลงในหน้าที่การงาน
(2) การทำกิจกรรมให้ข้อมูลด้านต่าง ๆ ที่น่าจะเป็นประโยชน์ในการเลือกอาชีพของนิสิตนักศึกษาที่เข้าร่วมในโครงการ
(3) การวัดและประเมินประสิทธิผลของการได้รับข้อมูลต่าง ๆ ในกิจกรรมของโครงการ ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคทางเศรษฐมิติ

ระยะเวลาของโครงการ

เริ่มดำเนินการ: 2567

ติดต่อเรา

หากสนใจเข้าร่วมโครงการ หรือสอบถามเพิ่ม กรุณาติดต่อ
อีเมล: skillmismatch@riped.org
เบอร์โทรศัพท์: 0809171456

หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ไลน์

07A8B6C7-EB83-48E1-BE20-49FF11CCD1AF

ทีมนักวิจัยหลัก