RHS: การสำรวจอนามัยเจริญพันธ์ (2552)

สํานักงานสถิติแห่งชาติได้ดําเนินการ 2518 โดยทําการสํารวจรวมกับสถาบันประชากรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยภายใต้โครงการสํารวจ World Fertility Survey) ซึ่งเป็นโครงการวิจัยระหว่างประเทศทางด้านประชากร เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมทางภาวะเจริญพันธุ์ของประชากร และสํานักงานสถิติแห่งชาติได้จัดทํา 2549
สํานักงานสถิติแห่งชาติได้ร่วมกับกองอนามัยการเจริญพันธุ์กรมอนามัย ทําการสํารวจเกี่ยวกับข้อมูลอนามัยการเจริญพันธุ์ของประเทศเพื่อนําไปจัดทํา ตัวชี้วัดในการประเมินสถานการณ์อนามัยการเจริญพันธุ์ของประชากร 2549
สําหรับการสํารวจในปี 2552 สํานักงานสถิติแห่งชาตและกรมอนามัย ได้ทําบันทึกความรวมมือในการจัดทำการสำรวจครั้งนี้รวมกันนอกจากนี้ยังไดัรับ การสนับสนุนทางวิชาการจากกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติและวิทยาลัยประชากร ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อให้ได้ ภาพสะท้อนสถานการณ์อนามัยการเจริญพันธุ์ของประเทศสมบูรณ์มากขึ้น ให้หนวยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนําข้อมูลไปใช้ในการกําหนดนโยบายวางแผนดํา เนินงาน และประเมินผลงานทาง ด้านอนามัยการเจริญพันธตุ์ ต่อไป
วัตถุประสงค์
   1. เพื่อทราบสถานการณ์อนามยการเจริญพันธุ์ของประชากรด้านต่าง ๆ ได้แก่พฤติกรรมต่อการวางแผนครอบครัว ภาวะเจริญพันธุ์ การอนามัย แม่และเด็ก ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ การตรวจมะเร็งระบบสืบพันธุ์ และอนามัยการเจริญพันธุ์ของวัยรุ่น
   2. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์อนามัยการเจริญพันธุ์ โดยเฉพาะการเข้าถึงบริการด้านอนามัย
ขอบข่ายและคุ้มรวมของการสํารวจ
ประชากรที่อยู่ในขอบข่ายของการสํารวจครั้งนี้ได้แก่ บุคคลผู้อาศัอยู่ในครัวเรือนส่วนบุคคล ทั้งในเขตเทศบาล และนอกเขตเทศบาลทั่วประเทศ บุคคลที่เข้าข่ายการสํารวจ คือ หญิงอายุ 15 – 59 ปี และชายอายุ 15 – 24 ปี ที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนส่วนบุคคลตัวอย่าง ซึ่งมีจํานวนครัวเรือนตัวอย่างทั้งสิ้น 30,117 ครัวเรือน การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยให้เจ้าหน้าที่ของสํานักงานสถิติแห่งชาติไปสัมภาษณ์สมาชิกของครัวเรือนตัวอย่างในเดือนพฤษภาคม 2552
ระเบียบวิธีและการดำเนินงานสำรวจ
แผนการสุ่มตัวอย่าง
สํารวจนี้เป็นการสํารวจด้วยตัวอย่าง (Sample Survey Method) โดยใช้แผนการสุ่มตัวอยางแบบ Stratified Two Stage Sampling โดยมีจังหวัดเป็นสตราตัม (Stratum) ซึ่งมีทั้งสิ้น 76 สตราตัม และในแต่ละสตราตัม (จังหวัด) ได้แบ่งออกเป็น 2 สตราตัมย่อยตามลักษณะการปกครอง คือ ในเขตเทศบาล และนอกเขตเทศบาล ตัวอย่างขั้นที่หนึ่ง คือ ชุมรุมอาคาร (สําหรับในเขตเทศบาล) และหมู่บ้าน (สําหรับนอกเขตเทศบาล) ตัวอย่างขั้นที่สอง คือ ครัวเรือนส่วนบุคคล โดยในแต่ละชุมรุมอาคาร/หมู่บ้านตัวอย่างแบ่งครัวเรือนออกเป็น 2 กลุ่ม แล้วจึงเลือกครัวเรือนส่วนบุคคลดังนี้
กลุ่มที่ 1 ครัวเรือนที่มีสมาชิกในครัวเรือนเป็นหญิงที่มีบุตรอายุไม่เกิน 1 ปี เป็นครัวเรือนตัวอย่างทุกครัวเรือน จํานวน 5,880 ครัวเรือน
กลุ่มที่ 2 ครัวเรือนอื่น ๆ ให้เลือกครัวเรือนตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบคือ ในเขตเทศบาล เลือกจํานวน 18 ครัวเรือนต่อชุมรุมอาคาร และนอกเขต เทศบาล เลือกจํานวน 15 ครัวเรือนต่อหมู่บ้าน จํานวน 24,237 ครัวเรือน

Questionnaire
Close Bitnami banner
Bitnami