Monthly Survey Household Financial Accounting (Month 0-172)

ข้อมูลบัญชีรายครัวเรือนแบบตัวอย่างซ้ำรายเดือนเป็นข้อมูลที่ได้จากการนำ Townsend Thai Monthly Micro Data (ตั้งแต่เดือนที่ 0-160) ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีความละเอียดและซับซ้อนมาประมวลและจัดทำเป็นบัญชีครัวเรือน ซึ่งประกอบด้วย บัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน (Balance Sheet) บัญชีรายรับรายจ่าย (Income Statement) และบัญชีการเคลื่อนไหวเงินสด (Statement of Cash Flows) เพื่อให้สะดวกต่อการนำไปวิเคราะห์หรือวิจัยทางเศรษฐศาสตร์และสังคม การจัดทำบัญชีครัวเรือนดังกล่าวจำเป็นต้องใช้ข้อมูลจากหลายส่วนมาประมวลผลรมกัน อาทิเช่น
  • การคำนวณทรัพย์สินของครัวเรือนมีความเกี่ยวเนื่องกับหมวดทรัพย์สินครัวเรือน (Household Asset), ทรัพย์สินเกษตร (Agricultural Asset), ธุรกิจครัวเรือน (Household Business), วงแชร์ (ROSCA), การให้กู้ยืม (Lending), การออม (Saving), ที่ดิน (Land), และ คงคลัง (Crop Inventory, Livestock Inventory) เป็นต้น
  • การคำนวณการถือครองเงิน (Cash Holding) มีความเกี่ยวเนื่องกับทุกธุรกรรมที่ใช้เงินสด ซึ่งจะมีอยู่ในทุกหมวดข้อมูลฃ
  • การคำนวณหนี้สินครัวเรือนมีความเกี่ยวเนื่องกับหลายหมวด อาทิ หมวดการกู้ยืม (Borrowing), หมวดทรัพย์สินต่างๆ (Household Asset, Agricultural Asset, Household Business, และ Land) ในกรณีที่มีการกู้ยืมเพื่อซื้อสินทรัพย์, หมวดกิจกรรมการผลิตต่างๆ (Cultivation, Fish and Shrimp, Livestock Activities, Household Business) ในกรณีที่มีการใช้สินเชื่อเพื่อซื้อวัตถุดิบและกรณีที่มีการซื้อหรือขายผลผลิตล่วงหน้า
  • ความมั่งคั่ง (Wealth) ต้องคำนวณจากทรัพย์สินหักลบหนี้สินของครัวเรือน จึงมีความเกี่ยวเนื่องกับทุกหมวดที่ใช้ในการคำนวณทรัพย์สินและหนี้สินครัวเรือนดังอธิบายข้างต้น
  • รายได้สุทธิ (Net Income) มีความเกี่ยวเนื่องกับทุกหมวดกิจกรรมการผลิต, (Cultivation, Fish and Shrimp, Livestock Activities, Household Business), หมวดการประกอบอาชีพ (Occupational Activities), หมวดรายได้อื่นๆ (Other Incomes), และรวมถึงหมวดทรัพย์สินต่างๆ เนื่องจากต้องมีการประมาณค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (depreciation) ในแต่ละเดือน และ capital gain หรือ loss ในกรณีที่ครัวเรือนมีการกำจัดทรัพย์สินบางประการออกจากครัวเรือน
  • การบริโภค (Consumption) มีความเกี่ยวเนื่องกับหมวดค่าใช้จ่าย (Expenditures), หมวดผลิตผลการเกษตรคงคลัง (Crop Inventories) ในกรณีที่ครัวเรือนซื้อสินค้าเกษตร เช่น ข้าวสาร เป็นต้น เพื่อการบริโภคเป็นระยะเวลาหลายเดือนซึ่งทำให้ต้องมีการประมาณการมูลค่าการบริโภคในแต่ละเดือน, และหมวดกิจกรรมการผลิตต่างๆ (Cultivation, Fish and Shrimp, Livestock Activities, Household Business) ในกรณีที่ครัวเรือนบริโภคผลผลิตที่ผลิตได้เอง
  • การออม (Saving Flows) ต้องคำนวณจากรายได้สุทธิลบการบริโภค จึงมีความเกี่ยวเนื่องกับทุกหมวดที่ใช้ในการคำนวณรายได้สุทธิและการบริโภคดังกล่าวข้างต้น

นานาชาติ อาทิ Samphantharak and Townsend (2009), Pawasutipaisit and Townsend (2011), and Paweenawat and Townsend (2012) เป็นต้น  ดังนั้น การจัดสร้างข้อมูลบัญชีครัวเรือนตามหลักเกณฑ์และสมมติฐานที่เหมาะสมนี้ จะช่วยให้ข้อมูลบัญชีรายครัวเรือนแบบตัวอย่างซ้ำรายเดือนมีการจัดการที่เป็นระบบ และสามารถนำข้อมูลไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม การจัดการบัญชีครัวเรือนดังกล่าวมีรายละเอียดของหลักเกณฑ์และสมมติฐานตามคู่มือการใช้งาน Financial Account User’s Manual และตารางโครงสร้างบัญชีครัวเรือน “List-of-Account-Variables”

Questionnaire (Year 1997-2014)
Close Bitnami banner
Bitnami