




10 กุมภาพันธ์ 2568
โดย กสศ, RIPED และ OECD
ข้อค้นพบจากผลการทดสอบ PISA for Schools แนวทางยกระดับสมรรถนะผู้เรียน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
ข้อค้นพบนี้บ่งบอกเป็นนัยว่า สมรรถนะสําคัญของนักเรียนได้รับการพัฒนาในช่วงประถมศึกษาหรือตั้งแต่ระดับปฐมวัยเป็นหลัก ซึ่งอาจหมาย รวมถึง สมรรถนะด้านวิชาการ (academic competency) ทักษะด้านบุคลิกภาพ (personality) และทักษะการคิดเชิงบริหาร (EF) ดังนั้น แนวทางหรือนโยบายที่ ต้องการยกระดับสมรรถนะของนักเรียนเมื่ออายุ 15 ปี จําเป็นต้องเริ่มตั้งแต่ ระดับประถมศึกษาหรือปฐมวัย ไม่ควรรอจนถึงระดับมัธยมศึกษา เพราะอาจ สายเกินไปที่จะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
"เติมฝัน ปันนิทาน" กิจกรรมเพื่อเด็กปฐมวัย
ฉลองครบรอบ 10 ปี ไรซ์ไทยแลนด์
สถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย (RIPED)
ร่วมกับ คณะการศึกษาปฐมวัย (ECE) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (UTCC)
ดำเนินกิจกรรม "เติมฝัน ปันนิทาน" ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อจัดหาหนังสือนิทานกว่า 10,000 เล่ม
สำหรับเด็กปฐมวัยในพื้นที่ห่างไกล เช่น ปัตตานี ยะลา นราธิวาส มหาสารคาม และจังหวัดอื่นๆ
ทั้งนี้ ขอขอบคุณสำนักพิมพ์ (นานมีบุ๊คส์ / แปลน ฟอร์ คิดส์ / พาส เอ็ดดูเคชั่น / เพอลังอิ พับลิชชิ่ง)
ที่ช่วยสนับสนุนกิจกรรมนี้ผ่านการลดราคาให้เป็นพิเศษ
เชิญร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการเติมเต็มความฝันและเปิดโลกแห่งการเรียนรู้ให้เด็กปฐมวัยในชนบท
ด้วยการร่วมบริจาคหนังสือนิทาน
ท่านสามารถส่งหนังสือนิทานมาได้ที่:
สถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย อาคาร 21 ชั้น 7
เลขที่ 126/1 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงรัชดาภิเษก เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
6 พฤศจิกายน 2566
โดย The Potential
‘ทักษะที่ขาดหาย’ ความ(ไม่)พร้อมของเด็กปฐมวัย จากการสำรวจ School Readiness Survey: รศ.ดร.วีระชาติ กิเลนทอง
“การสำรวจข้อมูลอาจไม่ทำให้ชีวิตชาวบ้านดีขึ้น แต่ต้องไม่ลืมว่าก่อนที่จะมีคำตอบต้องรู้สาเหตุ สิ่งแรกที่อยากฝากคือคำกล่าวของ Lord Kelvin ผู้พัฒนามาตรฐานการวัดอุณหภูมิสัมบูรณ์ หรือระบบเคลวิน (Kelvin) ที่ว่า ‘If you cannot measure it, you cannot improve it.’ ถ้าเราวัดไม่ได้ ลืมมันได้เลยว่าเราจะแก้ได้ และนั่นคือ check point ที่ทีมวิจัยพยายามทำ เพราะเทอร์โมมิเตอร์ไม่ใช่ยา แก้ปัญหาให้คนเป็นไข้ไม่ได้ แต่เราใช้เทอร์โมมิเตอร์ตลอดเวลาเพื่อบอกว่าเรามีปัญหาไหม เช่นเดียวกับงานวิจัย เราไม่มีคำตอบจากการเก็บข้อมูล แต่ในทางกลับกันเราหวังว่าข้อมูลจะนำไปสู่ความเข้าใจในรากของปัญหาที่ชัดเจนขึ้น”
29 ตุลาคม 2566
โดย กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)
พัฒนาทุนมนุษย์ช่วงปฐมวัย หนทางลดความเหลื่อมล้ำที่ยั่งยืน เปิดผลลัพธ์งานวิจัย Thailand School Readiness Survey เช็คความพร้อมเด็กไทยก่อนขึ้นชั้นประถม
ผลทดสอบกลุ่มตัวอย่างราว 10 เปอร์เซ็นต์ของเด็กปฐมวัยทั่วประเทศชี้ว่า ประเทศไทยมีเด็กเล็กช่วงวัยก่อนประถมศึกษาจำนวนมากมีทักษะการเรียนรู้อยู่ในระดับที่น่ากังวล โดยเฉพาะความพร้อมด้านความเข้าใจในการฟัง การต่อรูปภาพในใจ และความจำใช้งาน อันเป็นทักษะพื้นฐานสำคัญซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้อื่นๆ
รศ.ดร.วีระชาติ กิเลนทอง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย (RIPED) และคณบดีคณะการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุถึงแง่มุมหนึ่งจากผลลัพธ์ของงานวิจัยสำรวจความพร้อมในการเข้าสู่ระบบการศึกษาของเด็กปฐมวัย (Thailand School Readiness Survey: TSRS) ซึ่งมีนัยสำคัญต่อการประเมินปัญหา และเป็นข้อมูลตั้งต้นของการหาแนวทางพัฒนาเด็กปฐมวัยไทยในภาพรวม
25 ตุลาคม 2566
โดย กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)
Equity Forum 2023 “ทุนมนุษย์เพื่อยุติความเหลื่อมล้ำ”
“สิ่งที่แบบทดสอบกำลังบอก คือชุดทักษะที่เราต้องการให้เด็กแสดงให้เห็นนั้นไม่ใช่เรื่องยากและซับซ้อน แต่มันได้ยืนยันว่าถ้าเด็กปฐมวัยไม่ได้รับการลงทุนด้านคุณภาพการศึกษาที่เหมาะสม ทั้งจากครอบครัวและโรงเรียน เด็กจะเจอกับปัญหาอุปสรรคแม้ในการทำสิ่งที่เป็นเรื่องพื้นฐานง่ายๆ และจะมีผลสืบเนื่องระยะยาวในขั้นถัดไปของการเรียนรู้”
ผลลัพธ์งานวิจัย Thailand School Readiness Survey เช็คความพร้อมเด็กไทยก่อนขึ้นชั้นประถม โดย รศ.ดร.วีระชาติ กิเลนทอง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย (RIPED) และคณบดีคณะการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
📌 ส่วนหนึ่งของ งานสัมมนาทางวิชาการประจำปี “Equity Forum 2023 ทุนมนุษย์ยุติความเหลื่อมล้ำ”
This study investigates the role of parenting styles in child development in rural Thailand using early childhood panel data. Our results from various specifications indicate that authoritarian parenting style was negatively and significantly associated with the child’s non-cognitive skills, while the results for cognitive skills were generally insignificant. These results imply that parenting styles affect non-cognitive skills but not cognitive skills of children aged between five and eleven years. However, we found that the impact of authoritative parenting is less conclusive.
This paper estimates the contemporaneous effects of the real minimum wage on wage, labor income, total compensation, overtime income, working hours, and disemployment using individual-level panel data, created from the matched-outgoing rotation group (matched-ORG) of the Labor Force Survey of Thailand between 2002 and 2013. We found that real wage and real total compensation were positively correlated with real minimum wage for both the gradual decline period (2002-2011) and the big jump period (2012-2013). Working hours were negatively correlated for the first period but positively correlated for the second one, while the opposite was true for the disemployment effect.
“การทํางานที่ตรงโจทย์ปัญหามากที่สุด คือ การลดจํานวนเด็กที่มีสมรรถนะพื้นฐาน ค่อนข้างต่่ำให้ได้มากที่สุด ด้วยการให้เวลา ให้โอกาส และเติมเต็มทรัพยากร เพื่อเด็กกลุ่มนี้ จะช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์เด็กสมรรถนะสูงไปในตัว”