AGC: สำมะโนการเกษตร (2546)

ประเทศไทยมีการจัดทําสํามะโนการเกษตรมาแล้ว 5 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2493 ต่อมาใน พ.ศ. 2506, 2521, 2536 และ 2546 เพื่อให้มีข้อมูลสถิติเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตร สําหรับใช้ประโยชน์ในการวางแผนพัฒนาด้านการเกษตรของประเทศ และสามารถนําไปใช้ในการกําหนดนโยบายติดตามและประเมินผลโครงการพัฒนาทางการเกษตรได้อย่างต่อเนื่องและเพื่อให้สอดคล้องกับข้อเสนอแนะขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ที่แนะนําให้ทุกประเทศจัดทําสํามะโนการเกษตรทุก 10 ปี สํานักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งมีอํานาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. 2550 ในการจัดทําโครงการสํามะโนทุกด้าน จึงได้กําหนดที่จะจัดทําสํามะโนการเกษตรครั้งที่ 6 ขึ้นในปี 2556 โดยครั้งนี้การทำสำมะโนการเกษตรได้ขยายขอบข่ายการทำการเกษตรครอบคลุมถึงการทำนาเกลือสมุทรตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 1 มีนาคม 2554 เรื่องการเกษตรกรรมให้รวมถึงการทำนาเกลือสมุทร และได้ผนวกข้อถามการทำประมงน้ำจืด การทำประมงทะเล และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง (รวมเพาะพันธุ์) ไว้ในแบบนับจดด้วย
วัตถุประสงค์
   1) เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตร ได้แก่จํานวนผู้ถือครอง และเนื้อที่ถือครองทําการเกษตร การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่น้ําจืด การทํานาเกลือสมุทร การใช้ประโยชน์ในที่ถือครอง การถือครองที่ดินเนื้อที่เพาะปลูกพืช เนื้อที่ทํานาเกลือสมุทร และเนื้อที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ําในพื้นที่น้ําจืดจํานวนการเลี้ยงปศุสัตว์ การใช้ปุ๋ย การใช้เครื่องจักรเครื่องมือเพื่อการเกษตร และกําลังแรงงานที่ใช้ในการเกษตร เป็นต้น
   2) เพื่อให้มีข้อมูลดังกล่าวในระดับพื้นที่ย่อย (ระดับหมู่บ้าน) สําหรับใช้ประกอบการวางแผนพัฒนาในระดับประเทศ และระดับท้องถิ่นต่อไป
   3) เพื่อนําข้อมูลที่ได้มาใช้เป็นกรอบในการเลือกตัวอย่าง สําหรับการสํารวจในรายละเอียดเกี่ยวกับการเกษตร การทําประมงทะเล และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
   4) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตรในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา
ขอบข่ายและคุ้มรวมของการสํารวจ
ผู้ถือครองทําการเกษตรที่จะถูกเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ คือ ผู้ถือครองทําการเกษตรที่ทําการเพาะปลูกพืช เลี้ยงปศุสัตว์ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่น้ำจืดและทํานาเกลือสมุทร ทุกคนในทุกท้องที่ทั่วประเทศ ทั้งในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาลสําหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลของโครงการนี้ได้ใช้วิธี “Closed Segment Concept” ในระดับจังหวัด กล่าวคือ ผู้ถือครองทําการเกษตรจะถูกนับจดและแจงนับในจังหวัดที่มีการทําการเกษตรเท่านั้น
ระเบียบวิธีและการดำเนินงานสำรวจ
การเก็บรวบรวมข้อมูลจะดําเนินการพร้อมกันทุกจังหวัดทั่วประเทศระหว่างวันที่ 1 – 31 พฤษภาคม 2556 โดยส่งเจ้าหน้าที่ประมาณ 20,000 คน ซึ่งประกอบด้วยพนักงานแจงนับ (อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน หรือ อกม.) 15,000 คนเจ้าหน้าที่วิชาการ (เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจําตําบล) 3,000 คน และเจ้าหน้าที่ของสํานักงานสถิติแห่งชาติ 2,000 คน ออกไปสัมภาษณ์หัวหน้าครัวเรือนทุกครัวเรือน (การนับจด) เพื่อหาผู้ถือครองทําการเกษตร แล้วทําการสัมภาษณ์ในรายละเอียดของการทําการเกษตร (การแจงนับ) ต่อไป

Questionnaire