SPC: การสำรวจการเปลี่ยนแปลงประชากร (2548-2549)
สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้จัดทําการสํารวจการเปลี่ยนแปลงของประชากรเป็นประจําทุกระยะ 10 ปี ในช่วงกึ่งกลางระหว่างปีที่มีการจัดทําสํามะโนประชากรและเคหะ การสํารวจครั้งล่าสุดเป็นการสํารวจครั้งที่ 7 ได้ทําการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมด 5 รอบ แต่ละรอบห่างกัน 3 เดือน การสํารวจรอบที่ 1 เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลประชากรฐาน (base population) ส่วนรอบที่ 2-5 เป็นการเก็บข้อมูลการเปลี่ยนแปลงเรื่องการเกิด การตายของประชากรในครัวเรือนที่ได้สัมภาษณ์ในรอบที่ 1 การนําเสนอผลการสํารวจครั้งนี้เป็นการนําข้อมูลที่สํารวจทั้ง 5 รอบมานําเสนอภาพการเปลี่ยนแปลงเรื่องการเกิด การตายของประชากร
วัตถุประสงค์
1. เพื่อหาระดับอัตราเกิด อัตราตาย อัตราเพิ่มของประชากร และอัตราเจริญพันธุ์ต่างๆ
2. เพื่อทราบข้อมูลที่สำคัญทางประชากรด้านภาวะเจริญพันธุ์ ภาวะการตาย การวางแผนครอบครัวและอายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด
3. เพื่อทราบข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับลักษณะและโครงสร้างของประชากร เช่น จำนวนประชากรตามหมวดอายุและเพศ สถานภาพสมรส การศึกษา อาชีพ เป็นต้น
4. เพื่อใช้ประเมินอัตราเพิ่มของประชากรในช่วงปลายแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) และใช้ในการปรับปรุงการคาดประมาณประชากร ครั้งต่อไป
5. เพื่อทราบลักษณะและแนวโน้มของประชากรในปีระหว่างสำมะโน (Intercensal period)
ขอบข่ายและคุ้มรวมของการสํารวจ
เป็นการสำรวจด้วยวิธีตัวอย่างทุกจังหวัดทั้งในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล จำนวนชุมรุมอาคารหรือหมู่บ้านตัวอย่างทั้งสิ้น 2,050 เขต
ครัวเรือนส่วนบุคคลตัวอย่าง 82,000 ครัวเรือน
ระเบียบวิธีและการดำเนินงานสำรวจ
แผนการสุ่มตัวอย่าง
ใช้แบบ Stratified Two- Stage Sampling
ขั้นที่ 1 เลือกชุมรุมอาคาร/หมู่บ้าน
ขั้นที่ 2 ครัวเรือนส่วนบุคคลครัวเรือนที่อยู่ในข่ายของการสำรวจ
– ครัวเรือนส่วนบุคคล
– ครัวเรือนพิเศษ