SEP: สำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย (2537-2550)
สํานักงานสถิติแห่งชาติดําเนนการสำรวจประชากรสูงอายุครั้งแรกในปี พ.ศ. 2537 ครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2545 ครั้งที่ 3 ในปี พ.ศ. 2550
และกําหนดจะทําการสํารวจนี้เป็นประจําทุก 5 ปี เนื่องจากคณะอนุกรรมการตดตามการดำเนินการตามนโยบายและแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ
จําเป็นต้องใช้ข้อมูลเกี่ยวกับประชากรสูงอายุ เพื่อสร้างระบบติดตามและประเมินผลแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ซึ่งขณะนี้อยู่ในช่ววงเวลาการใช้แผนนี้ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545 – 2564)
วัตถุประสงค์
เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลสถานการณ์ผู้สูงอายุลักษณะทางประชากรของผู้สูงอายุ สภาพความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุสภาพทางเศรษฐกิจและสภาพทางสังคม รวมทั้งภาวะสุขภาพ ฯลฯ
ขอบข่ายและคุ้มรวมของการสํารวจ
ประชากรที่อยู่ในคุ้มรวมของการสํารวจในครั้งนี้ ได้แก่ผู้ที่มีอายุ 50 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนส่วนบุคคลทวประเทศที่ตกเป็นครัวเรือนตัวอย่าง ยกเว้นสมาชิกในครัวเรือนที่เป็นทหารประจำการ
ระเบียบวิธีและการดำเนินงานสำรวจ
แผนการสุ่มตัวอย่าง
การสํารวจประชากรสูงอายุครังนี้ใช้ครัวเรือนตัวอย่าง เดียวกับการสํารวจภาวะการทำงานของประชากร พ.ศ. 2550 (ไตรมาสที่ 2 ; เดือนเมษายน พฤษภาคม และมิถุนายน) โดยทําการเลือกตัวอย่าง 2 ขั้นตอน
ขั้นตอนแรก เป็นการเลือกพื้นที่ตัวอย่างในกรุงเทพมหานคร และทุกจังหวัด (ในเขตเทศบาลเรียกว่าชุมรุมอาคาร นอกเขตเทศบาล เรียกว่าหมู่บ้าน) ได้จํานวน 3,335 ชุมรุมอาคาร 2,457 หมู่บ้าน
ขั้นตอนที่สอง เป็นการเลือกครัวเรือนส่วนบุคคลในพื้นที่ตัวอย่างทั้งในเขตเทศบาลและนอกเขต เทศบาล โดยในแต่ละชุมรุมอาคารจะเลือกครัวเรือนส่วนบุคคลจํานวน 15 ครัวเรือน และในแต่ละหมู่บ้านจะเลือกครัวเรือนส่วนบุคคลจํานวน 12 ครัวเรือน ได้จํานวนครัวเรือนส่วนบุคคลตัวอย่างในเขตเทศบาลจํานวน 50,025 ครัวเรือน และนอกเขตเทศบาล 29,484 ครัวเรือน รวมเป็นครัวเรือนตัวอย่างทั่วประเทศ 79,509 ครัวเรือน การสํารวจประชากรสูงอายุเป็นการสํารวจด้วยตัวอย่าง ซึ่งเป็นเพียงบางส่วนของประชากรสูงอายุดังนั้นจึงจําเป็นต้องมีการประมาณค่า ข้อมูลที่ได้จากการสํารวจกลับไปสู่ประชากรทั้งสิ้น โดยวิธีการที่สอดคล้องกับ
แบบสอบถาม
แบบสอบถามที่ใช้เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล การสํารวจประชากรสูงอายุ แบ่งออกเป็น 11 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ตอนที่ 2 สภาพที่อยู่อาศัย และลักษณะการอยู่อาศัย
ตอนที่ 3 การทํางาน และรายได้
ตอนที่ 4 การเกื้อหนุน และการเยี่ยมเยียน
ตอนที่ 5 ภาวะสุขภาพ
ตอนที่ 6 พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ และการเตรียมตัวก่อนเข้าวัยสูงอายุ
ตอนที่ 7 การเข้าร่วมกิจกรรม และการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร
ตอนที่ 8 การรับรู้เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของผู้สูงอายุ
ตอนที่ 9 ความรู้เรื่องโรคเอดส์ในผู้สูงอาย
ตอนที่ 10 ความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุ (สัมภาษณ์ผู้ดูแลผู้สูงอายุ)
ตอนที่ 11 การเป็นเจ้าของบริภัณฑ์
การเก็บรวบรวมข้อมูล
เก็บรวบรวมขอมูลพร้อมกับการสํารวจภาวะการทํางานของประชากร พ.ศ. 2550 (ไตรมาส ที่ 2 : เดือนเมษายน พฤษภาคม และมิถุนายน) โดยวิธีการส่งพนักงานของสํานักงานสถิติแห่งชาติออกไปทําการสัมภาษณ์ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปทุกคนที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนที่ตกเป็นตัวอย่าง ซึ่งดําเนินการเก็บรวบรวมข้อมลพร้อมกันทุกจังหวดทั่วประเทศ ทั้งในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล