SPPS: การสำรวจค่าตอบแทนภาคเอกชน (2543-2545)
การกําหนดอัตราค่าตอบแทนที่เหมาะสมสอดคล้องกับอัตราตลาดเป็นปัจจัยสําคัญประการหนึ่ง ในการรักษา และเพิ่มขีดสมรรถภาพในการแข่งขันของสถานประกอบการ คณะกรรมการพิจารณาเงินเดือนแห่งชาติ (กงช.) ซึ่งรับผิดชอบการเสนอแนะ และให้คําปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับค่าตอบแทนภาครัฐ เล็งเห็นความจําเป็นของการมีข้อมูลสถิติเกี่ยวกับค่าตอบแทนของสถาน-ประกอบการในประเทศ จึงมอบหมายให้สํานักงานคณะกรรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการของ กงช. ร่วมกับสํานักงานสถิติแห่งชาติ ทําการสํารวจค่าตอบแทนภาคเอกชนทุก 2 ปี โดยครอบคลุมสถานประกอบการอุตสาหกรรมและธุรกิจที่มีพนักงานประจําหรือลูกจ้าง ตั้งแต่ 101 คนขึ้นไปทั่วประเทศ เพื่อนําข้อมูลสถิติไปใช้กําหนดนโยบายค่าตอบแทนของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน และภาครัฐวิสาหกิจ ให้เหมาะสม เป็นธรรม ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่จะส่งเสริมศักยภาพการแข่งขันในกิจกรรมการผลิตด้านอุตสาหกรรมและธุรกิจของประเทศในเวทีโลก การสํารวจดังกล่าวเริ่มดําเนินการครั้งแรกในปี พ.ศ. 2539 และการสํารวจในปี 2554 นับเป็นครั้งที่ 7
วัตถุประสงค์
เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับค่าตอบแทนสวัสดิการ และสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ของพนักงานประจําหรือลูกจ้างที่ได้รับจากสถานประกอบการในภาคเอกชน สําหรับใช้ในการศึกษาเปรียบเทียบโครงสร้าง และอัตราค่าตอบแทนระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐ
ขอบข่ายและคุ้มรวมของการสํารวจ
สถานประกอบการที่อยู่ในขอบข่ายการสํารวจนี้ ได้แก่สถานประกอบการตามการจัดประเภทอุตสาหกรรมตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจทุกประเภทตามมาตรฐานสากล (International Standard Industrial Classification of All Economic Activities : ISIC Rev. 3) ดังนี้
1) การทําเหมืองแร่
2) การผลิต
3) การไฟฟ้า ก๊าซ และการประปา
4) การก่อสร้าง
5) การขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ รถจักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคล และของใช้ในครัวเรือน
6) โรงแรมและภัตตาคาร
7) การขนส่ง สถานที่เก็บสินค้า ตัวแทนธุรกิจการท่องเที่ยว และการโทรคมนาคม
8) การเป็นตัวกลางทางการเงิน
9) กิจกรรมด้านอสังหาริมทรัพย์ การให้เช่าและกิจกรรมทางธุรกิจ
10) โรงพยาบาลเอกชน
11) การบริการด้านนันทนาการ วัฒนธรรมและการกีฬา และการบริการส่วนบุคคลอื่นๆโดยคุ้มรวมสถานประกอบการในภาคเอกชนที่มีพนักงาน ประจําหรือลูกจ้าง ตั้งแต่ 101 คนขึ้นไปทั่วประเทศ
ระเบียบวิธีและการดำเนินงานสำรวจ
แผนการสุ่มตัวอย่าง
ใช้แบบ stratified systematic sampling โดยมีกรุงเทพมหานครและภาคเป็นสตราตัม สถานประกอบการเป็นหน่วยตัวอย่าง
1.1 การจัดสตราตัม
กรุงเทพมหานครและภาคเป็นสตราตัม รวมทั้งสิ้นมี 6 สตราตัม ในแต่ละสตราตัมได้จัด
สถานประกอบการออกเป็น 11 สตราตัมย่อย ตามการจัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจทุกประเภทตามมาตรฐานสากล
(International Standard Industrial Classification of All Economic Activities; ISIC : Rev.3.0) ใน
ระดับประเภท และในแต่ละสตราตัมย่อยได้จําแนกสถานประกอบการตามขนาดของสถานประกอบการ
ซึ่งวัดด้วยจํานวนคนทํางาน
1.2 การเลือกตัวอย่าง
ในแต่ละสตราตัมย่อย และขนาดของสถานประกอบการของแต่ละภาคได้ทําการเลือกสถาน-ประกอบการตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบมีระบบ อย่างอิสระต่อกัน ได้จํานวนสถานประกอบการตัวอย่างทั้งสิ้น 5,686 แห่ง จากทั้งสิ้น 9,500 แห่ง ซึ่งกระจายไปตามประเภท และภาค