MICS: การสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย (2548-2565)

สำนักงานสถิติแห่งชาติ ร่วมมือกับองค์การยูนิเซฟ (UNICEF) ประเทศไทย จัดทำโครงการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย (MICS) เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ MICS ระดับสากล องค์การยูนิเซฟเป็นผู้สนับสนุนด้านวิชาการ ส่วนงบประมาณได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไทยและองค์การยูนิเซฟประเทศไทย ได้เริ่มดำเนินการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทยครั้งแรกในปีพ.ศ. 2548-2549 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ MICS รอบที่ 3 ในระดับสากล ระหว่างเดือนธันวาคม 2548 ถึงกุมภาพันธ์ 2549 และมีการจัดเก็บข้อมูลทุก 3 ปี

วัตถุประสงค์
เพื่อตัวชี้วัดที่เป็นสากลและสามารถเปรียบเทียบระหว่างประเทศได้ การสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีช่วยให้ประเทศมีข้อมูลสำหรับใช้ประกอบในการกำหนดนโยบาย โครงการ และแผนพัฒนาต่าง ๆ รวมทั้งใช้ในการติดตามความก้าวหน้าของการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และข้อตกลงระหว่างประเทศอื่น ๆ

แผนการเลือกตัวอย่าง
จำแนกตามพื้นที่ในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล และในระดับภาค จำนวน 5 ภาค (กรุงเทพมหานคร ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้) พื้นที่ในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาลของแต่ละจังหวัดได้ถูกกำหนดให้เป็นชั้นภูมิสำหรับการเลือกตัวอย่าง ในการเลือกตัวอย่างของการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย กำหนดให้ใช้แผนการเลือกตัวอย่างแบบมีชั้นภูมิหลายขั้น (multi-stage, stratified cluster sampling) กรอบตัวอย่างได้มาจากโครงการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของครัวเรือน มีหน่วยตัวอย่างขั้นที่หนึ่งเป็นเขตแจงนับที่กำหนดไว้สำหรับโครงการสำมะโน จากนั้นได้นับจดครัวเรือนทุกหลังในเขตแจงนับตัวอย่าง โดยแยกประเภทกลุ่มครัวเรือนที่มีเด็กและกลุ่มที่ไม่มีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี จึงเลือกครัวเรือนในขั้นที่สอง

Questionnaire
By Comments off 21/10/2024
By No Comment 21/10/2024

Leave a Reply