งานวิจัย

การประเมินผลกระทบของการฟื้นฟูการเรียนรู้ในจังหวัดสมุทรสาครโดยใช้การทดลองสุ่มแบบมีกลุ่มควบคุม (RCT)

การทดลองสุ่มครั้งนี้ดําเนินการในเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 อย่างรุนแรง กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และ องค์กรยูนิเซฟ (UNICEF) จึงได้ร่วมมือกับมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮมออกแบบแนวทางการฟื้นฟูการเรียนรู้  ถดถอยของนักเรียนในจังหวัดสมุทรสาคร

ทั้งนี้ ทีมวิจัยได้ใช้การทดลองสุ่มแบบมีกลุ่มควบคุม (RCT) เพื่อให้การประเมินผลกระทบของการฟื้นฟูการเรียนรู้ในจังหวัดสมุทรสาครถูกต้องตามหลักกการและใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า การทดลองครั้งนี้ควรมีจํานวนโรงเรียนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 60 แห่ง โดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม (control group) และกลุ่มทดลอง (treatment group) กลุ่มละ 30 โรงเรียน และแต่ละโรงเรียนควรมีนักเรียนในระดับชั้นเป้าหมาย (ป.3 ป.6 และ ม.3) ประมาณ 45 คน ดังนั้นจึงทำให้มีกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดประมาณ 2,700 คน

เครื่องมือสําคัญในการทดลองครั้งนี้คือ การให้การสนับสนุนโรงเรียนและครูในการวางแผนและการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่มีความหลากหลาย ทั้งในรูปแบบของปัจจัยพื้นฐาน เครื่องมือ วิธีการ การให้คําปรึกษา และการจัดอบรมเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครู โดยให้ความสําคัญกับการพัฒนาทักษะของ    ผู้เรียนในสามด้านหลัก ดังต่อไปนี้ ทักษะการอ่าน/การเขียน ทักษะทางคณิตศาสตร์ และทักษะทางอารมณ์และสังคม

มูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮมได้เริ่มดําเนินกิจกรรมกับโรงเรียนในกลุ่มทดลองตั้งแต่เดือนเมษายน 2565 โดยมีรายละเอียดการดำเนินงานสอดคล้องกับ    โครงการ RCT เพื่อประเมินผลกระทบของการฟื้นฟูการเรียนรู้ในจังหวัดสมุทรสาคร ดังต่อไปนี้

ลําดับเหตุการณ์ (timeline) สําหรับการประเมินผลของโครงการฟื้นฟูการเรียนรู้ของนักเรียนในช่วงสถานการณ์โควิด-19