บทความ
บทความนี้เป็นบทนำของชุดองค์ความรู้ซึ่งประกอบด้วย 6 บทความที่กล่าวถึงงานวิจัยที่ใช้การทดลองสุ่มแบบมีกลุ่มควบคุม (randomized controlled trials หรือ RCT) เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการที่มุ่งพัฒนาทุนมนุษย์ (human capital development) ตั้งแต่เรื่องการพัฒนาการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครอง (parenting) การส่งเสริมโภชนาการในเด็กที่ครอบคลุมกว้างกว่าเพียงเรื่องอาหารการกิน
หลักฐานจากงานวิจัยที่ประเมินผลโดยใช้การทดลองสุ่มแบบมีกลุ่มควบคุม (RCT) จำนวนไม่น้อยชี้ให้เห็นว่า การพัฒนาการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครองผ่านการเยี่ยมบ้าน (home visiting parenting program) ที่พยายามส่งเสริมการกระตุ้นพัฒนาการโดยผู้ปกครอง (parental stimulation) และยกระดับสภาพแวดล้อมของครอบครัว (home environment) เป็นแนวทางที่สามารถพัฒนาเด็กปฐมวัยและลดความเหลื่อมล้ำด้านทุนมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บทความนี้นำเสนอหลักฐานจากงานวิจัยที่ประเมินผลโครงการส่งเสริมโภชนาการในเด็กโดยใช้การทดลองสุ่มแบบมีกลุ่มควบคุม (randomized controlled trial: RCT) ที่นอกจากจะสามารถประเมินผลสำเร็จของโครงการได้แล้ว ยังสามารถแสดงให้เห็นกลไกหรือช่องทางที่นำไปสู่ผลสำเร็จนั้น ๆ ด้วย โครงการดังกล่าวไม่เพียงให้ข้อมูลด้านโภชนาการแก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง แต่ยังได้ให้ความสนใจกับปัจจัยอื่น ๆ
Teaching at the right level (TaRL) เป็นโครงการที่ Pratham ซึ่งเป็น NGO ขนาดใหญ่ในประเทศอินเดียพัฒนาขึ้นมา โดยยึดหลักการว่าการสอนนักเรียนควรสอนให้ตรงตามระดับความสามารถของเด็ก ไม่ใช่สอนตามหลักสูตรของแต่ละระดับชั้นที่เด็กอยู่ ซึ่งอาจทำให้เด็กตามบทเรียนไม่ทัน โครงการ TaRL นั้นมุ่งเน้นไปที่ทักษะพื้นฐานการอ่านและการคำนวณ โดยในช่วงแรกโครงการส่วนใหญ่จะดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่หรืออาสาสมัครของ Pratham เอง และเป็นลักษณะของการสอนเสริมเพิ่มเติมจากการเรียนการสอนปกติในโรงเรียนรัฐบาล
บทความนี้จะเล่าถึงงานวิจัยที่พยายามประเมินผลการอบรมครูหรือพัฒนาวิชาชีพครูในประเทศต่าง ๆ โดยใช้วิธี RCT กับกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ในประเทศกำลังพัฒนาหลาย ๆ โครงการ โดยบางโครงการประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนวิธีการสอนของครูและส่งผลต่อไปเป็นผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียน แต่บางโครงการ แม้จะสามารถปรับเปลี่ยนวิธีการสอนของครูได้ แต่กลับไม่มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็กแต่อย่างใด นอกจากนี้ ยังมีการอบรมครูบางโครงการที่ไม่ได้ส่งผลใด ๆ ทั้งต่อครูและต่อเด็ก
หลักฐานจากการประเมินผลของคูปองการศึกษา (school voucher) ในประเทศอินเดีย โดยใช้เทคนิคการทดลองสุ่มแบบมีกลุ่มควบคุม (RCT) ชี้ให้เห็นว่า การได้รับคูปองการศึกษาช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ด้านภาษาฮินดูและภาษาอังกฤษดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แต่ไม่มีผลในวิชาคณิตศาสตร์ ทั้งนี้ น่าจะเป็นเพราะว่าโรงเรียนเอกชนที่รับคูปองการศึกษาใช้เวลาเรียนในสองวิชาแรกมากกว่า แต่เรียนวิชาคณิตศาสตร์น้อยกว่าโรงเรียนรัฐ อย่างไรก็ตาม หลักฐานจากงานวิจัยที่ดำเนินการในประเทศกำลังพัฒนายังมีจำนวนน้อยมาก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาด้านการศึกษาและลดความเหลื่อมล้ำด้านทุนมนุษย์ในประเทศไทยควรพิจารณาทดลองนโยบายคูปองการศึกษา และจัดให้มีการประเมินผลโดยใช้เทคนิค RCT
หลักฐานจากงานวิจัยที่ประเมินผลการพัฒนากรอบความคิดแบบเติบโต (growth mindset) โดยใช้การทดลองสุ่มแบบมีกลุ่มควบคุม (RCT) ยังไม่สามารถนำไปสู่ข้อสรุปที่ชัดเจนเกี่ยวกับประสิทธิผลของการจัดอบรมหรือการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมกรอบความคิดแบบเติบโตที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการศึกษาและการลดความเหลื่อมล้ำด้านทุนมนุษย์ควรใช้ความระมัดระวังในการนำเอาแนวคิดเกี่ยวกับกรอบความคิดแบบเติบโตไปใช้ในการออกแบบนโยบาย
บทเรียนพื้นฐาน
การใช้วิธี RCT ทำให้เราสามารถวางแผนการประเมินผลไปพร้อมกับการใส่นโยบายหรือโครงการตั้งแต่เริ่มต้น สามารถสังเกต (เก็บข้อมูล) กระบวนการของโครงการไปทีละขั้น และสามารถวัดผลลัพธ์ของโครงการได้
วิธีการทดลองสุ่มแบบมีกลุ่มควบคุม จะสามารถแบ่งเด็กออกเป็นสองกลุ่มที่มีลักษณะคล้ายกันได้ ดังนั้นเมื่อจบโครงการแล้ว หากผลลัพธ์ของเด็กทั้งสองกลุ่มมีค่าต่างกัน เราจะสามารถบอกได้ว่านั่นเป็นผลจากโครงการ และไม่ได้มาจากปัจจัยอื่น ๆ
การสุ่มใช้ในการประเมินผลโครงการด้วยวิธีการทดลองสุ่มแบบมีกลุ่มควบคุม (RCT) ที่สามารถสร้างกลุ่มเปรียบเทียบได้สมจริงเพื่อแบ่งคนออกเป็นกลุ่มที่ได้รับโครงการและกลุ่มที่ไม่ได้รับโครงการ ภายใต้เงื่อนไขว่าต้องมีจำนวนตัวอย่างมากพอ วิธีการนี้จะช่วยให้ทั้งสองกลุ่มมีความคล้ายคลึงกันในช่วงก่อนเริ่มโครงการ