บทความ
ทำไมต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย ยังเล็กเกินไปสอนอะไรก็ยังไม่ได้ ทำอะไรยังไม่เป็น และต้องรอนานมากกว่าจะเห็นผล? เป็นคำถามที่ผมได้รับมาตลอดช่วงเวลาเกือบสิบปี ที่พยายามพัฒนาเด็กปฐมวัยในประเทศไทย สังคมไทยมักให้ความสำคัญกับการเรียนในระดับประถมและมัธยมมากกว่า ผู้ปกครองต้องจ่ายเงินจำนวนมากเพื่อให้บุตรหลานได้ติวเพื่อสอบเข้าโรงเรียนดังๆ หรือมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง จึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจว่า ผู้บริหารการศึกษาระดับประเทศไปจนถึงระดับโรงเรียนจึงไม่ค่อยเห็นความสำคัญของการศึกษาระดับปฐมวัย หากท่านเจอผู้อำนวยการโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนทั้งระดับปฐมวัยและระดับประถมศึกษา ผมมั่นใจว่า กว่าร้อยละ 90 จะต้องพูดถึงแต่การศึกษาระดับประถมศึกษาเป็นหลัก
การพัฒนาทุนมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพการศึกษาและคุณภาพการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครอง การยกระดับคุณภาพการศึกษาปฐมวัยด้วยการอบรมเชิงปฏิบัติการในสถานที่จริง ซึ่งเป็นการอบรมครูที่เจาะจงแนวทางการสอนแบบใดแบบหนึ่งโดยเฉพาะและมีรายละเอียดกิจกรรมและเนื้อหาที่ครบถ้วนสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสอนของครูปฐมวัยได้จริง ในขณะเดียวกันการพัฒนาการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครองผ่านการเยี่ยมบ้านก็เป็นกิจกรรมที่มีประสิทธิภาพช่วยให้ผู้ปกครองมีความพร้อมในการพัฒนาเด็กปฐมวัยมากขึ้น ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำเอาบทเรียนที่ได้จากงานวิจัยทั้งสองกลุ่มไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบนโยบายเพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพ
หลักฐานจากงานวิจัยที่ประเมินผลการพัฒนากรอบความคิดแบบเติบโต (growth mindset) โดยใช้การทดลองสุ่มแบบมีกลุ่มควบคุม (RCT) ยังไม่สามารถนำไปสู่ข้อสรุปที่ชัดเจนเกี่ยวกับประสิทธิผลของการจัดอบรมหรือการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมกรอบความคิดแบบเติบโตที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการศึกษาและการลดความเหลื่อมล้ำด้านทุนมนุษย์ควรใช้ความระมัดระวังในการนำเอาแนวคิดเกี่ยวกับกรอบความคิดแบบเติบโตไปใช้ในการออกแบบนโยบาย
หลักฐานจากการประเมินผลของคูปองการศึกษา (school voucher) ในประเทศอินเดีย โดยใช้เทคนิคการทดลองสุ่มแบบมีกลุ่มควบคุม (RCT) ชี้ให้เห็นว่า การได้รับคูปองการศึกษาช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ด้านภาษาฮินดูและภาษาอังกฤษดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แต่ไม่มีผลในวิชาคณิตศาสตร์ ทั้งนี้ น่าจะเป็นเพราะว่าโรงเรียนเอกชนที่รับคูปองการศึกษาใช้เวลาเรียนในสองวิชาแรกมากกว่า แต่เรียนวิชาคณิตศาสตร์น้อยกว่าโรงเรียนรัฐ อย่างไรก็ตาม หลักฐานจากงานวิจัยที่ดำเนินการในประเทศกำลังพัฒนายังมีจำนวนน้อยมาก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาด้านการศึกษาและลดความเหลื่อมล้ำด้านทุนมนุษย์ในประเทศไทยควรพิจารณาทดลองนโยบายคูปองการศึกษา และจัดให้มีการประเมินผลโดยใช้เทคนิค RCT
Teaching at the right level (TaRL) เป็นโครงการที่ Pratham ซึ่งเป็น NGO ขนาดใหญ่ในประเทศอินเดียพัฒนาขึ้นมา โดยยึดหลักการว่าการสอนนักเรียนควรสอนให้ตรงตามระดับความสามารถของเด็ก ไม่ใช่สอนตามหลักสูตรของแต่ละระดับชั้นที่เด็กอยู่ ซึ่งอาจทำให้เด็กตามบทเรียนไม่ทัน โครงการ TaRL นั้นมุ่งเน้นไปที่ทักษะพื้นฐานการอ่านและการคำนวณ โดยในช่วงแรกโครงการส่วนใหญ่จะดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่หรืออาสาสมัครของ Pratham เอง และเป็นลักษณะของการสอนเสริมเพิ่มเติมจากการเรียนการสอนปกติในโรงเรียนรัฐบาล
บทความนี้นำเสนอหลักฐานจากงานวิจัยที่ประเมินผลโครงการส่งเสริมโภชนาการในเด็กโดยใช้การทดลองสุ่มแบบมีกลุ่มควบคุม (randomized controlled trial: RCT) ที่นอกจากจะสามารถประเมินผลสำเร็จของโครงการได้แล้ว ยังสามารถแสดงให้เห็นกลไกหรือช่องทางที่นำไปสู่ผลสำเร็จนั้น ๆ ด้วย โครงการดังกล่าวไม่เพียงให้ข้อมูลด้านโภชนาการแก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง แต่ยังได้ให้ความสนใจกับปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการได้รับโภชนาการที่เพียงพอของเด็ก ๆ
หลักฐานจากงานวิจัยที่ประเมินผลโดยใช้การทดลองสุ่มแบบมีกลุ่มควบคุม (RCT) จำนวนไม่น้อยชี้ให้เห็นว่า การพัฒนาการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครองผ่านการเยี่ยมบ้าน (home visiting parenting program) ที่พยายามส่งเสริมการกระตุ้นพัฒนาการโดยผู้ปกครอง (parental stimulation) และยกระดับสภาพแวดล้อมของครอบครัว (home environment) เป็นแนวทางที่สามารถพัฒนาเด็กปฐมวัยและลดความเหลื่อมล้ำด้านทุนมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บทความนี้เป็นบทนำของชุดองค์ความรู้ซึ่งประกอบด้วย 6 บทความที่กล่าวถึงงานวิจัยที่ใช้การทดลองสุ่มแบบมีกลุ่มควบคุม (randomized controlled trials หรือ RCT) เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการที่มุ่งพัฒนาทุนมนุษย์ (human capital development) ตั้งแต่เรื่องการพัฒนาการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครอง (parenting) การส่งเสริมโภชนาการในเด็กที่ครอบคลุม
ภาวะการว่างงานของผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรีลดลงอย่างรวดเร็วในช่วง 3 ปีแรกหลังจบการศึกษา และเมื่อจบการศึกษาเกิน 3 ปี ภาวะการว่างงานของผู้ที่จบการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและสายอาชีพแทบไม่ต่างกัน ในขณะที่ค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือนตามระยะเวลาหลังจบการศึกษาของผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรีสูงกว่าค่าจ้างของผู้จบสายอาชีพในทุกช่วงเวลาหลังจบการศึกษา
หลักสูตรปฐมวัยไรซ์ไทยแลนด์ (RIECE Curriculum) ที่พัฒนามาจากหลักสูตรไฮสโคป (HighScope) สามารถส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยได้ดีกว่าหลักสูตรอื่น ๆ ที่ใช้อยู่ในพื้นที่วิจัย ทั้งในด้านการเคลื่อนไหว ด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา ด้านการใช้ภาษา ด้านการช่วยเหลือตัวเองและสังคม อีกทั้งยังช่วยลดช่องว่างทางโอกาสของเด็กปฐมวัยที่ไม่ได้อาศัยอยู่กับพ่อแม่อย่างมีนัยสำคัญ
การพัฒนาเด็กปฐมวัยสามารถเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิตและสร้างความเสมอภาคด้านเศรษฐกิจและสังคมไปพร้อมกันได้ งานวิจัยในอดีตชี้ให้เห็นว่า การลงทุนในเด็กปฐมวัยมีความคุ้มค่าอย่างยิ่ง เช่น อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุนของโครงการ Perry Preschool ที่ใช้หลักสูตรไฮสโคป (HighScope) มีค่าสูงถึง 7 ต่อ 1 ในขณะที่โครงการ ABC ที่เน้นการเรียนรู้ผ่านเกมส์ที่สร้างมาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กก็มีผลประโยชน์ต่อต้นทุนสูงถึง 2.5 ต่อ 1
กองทุนหมู่บ้านช่วยให้ครัวเรือนมีระดับการบริโภคที่สูงขึ้น เนื่องจากช่วยลดปัญหาข้อจำกัดด้านการกู้ยืม (borrowing constraint) และมีผลทำให้ครัวเรือนลดสินทรัพย์ที่มีไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน (buffer stock) แต่ไม่สามารถนำมาซึ่งการเป็นผู้ประกอบการและการขยายตัวของกิจการที่มีอยู่แล้วเท่าใดนัก ดังนั้น การเพิ่มเงินทุนให้แก่กองทุนหมู่บ้านในอนาคตน่าจะมีผลทำให้ครัวเรือนสามารถเพิ่มการบริโภค แต่อาจจะไม่สามารถเพิ่มการลงทุนได้ และที่สำคัญ ภาครัฐควรจะพิจารณาการให้เงินสนับสนุนโดยตรงแก่ครัวเรือนแทนการเพิ่มเงินให้กับกองทุนหมู่บ้าน เนื่องจากมีประสิทธิภาพสูงกว่า
คะแนนสอบ PISA อันเป็นคะแนนสอบที่สะท้อนถึงทักษะความสามารถของนักเรียนในระดับนานาชาติ ได้แสดงผลออกมาว่าประเทศเวียดนามซึ่งมี GDP ใกล้เคียงกับไทยมีคะแนนสอบ PISA ก้าวกระโดดไปอยู่ในระดับเดียวกับประเทศพัฒนาแล้ว โดยทิ้งห่างจากไทยและประเทศอื่นที่มี GDP ใกล้เคียงกัน บทความนี้ชี้ให้เห็นว่าการจัดสรรเวลาเรียนในวิชาหลัก ได้แก่ วิชาด้านคณิตศาสตร์ ด้านวิทยาศาสตร์ และด้านภาษาศาสตร์ของเวียดนามที่สูงกว่าไทยนั้น อาจเป็นปัจจัยที่นำมาซึ่งความแตกต่างของคะแนนสอบ PISA ดังนั้น ในหลักสูตรการศึกษาของไทย การพิจารณาให้มีการจัดสรรเวลาเรียนในวิชาสำคัญเหล่านี้เสียใหม่อาจสามารถพัฒนาคุณภาพการศึกษาของไทยให้ดียิ่งขึ้นต่อไปในอนาคต
การตัดสินใจดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจและสังคมโดยรัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย มีความท้าทายและข้อจำกัดหลายด้าน หนึ่งในนั้นคือการขาดข้อมูลและการวิเคราะห์ที่เหมาะสม ยิ่งไปกว่านั้น การวิเคราะห์นโยบายต่าง ๆ ก็มักมีขอบเขตจำกัดเช่นเดียวกัน คือขาดการบูรณาการระหว่างมุมมองทางมหภาค (macro) และจุลภาค (micro) เข้าด้วยกัน การเล็งเห็นถึงข้อจำกัดดังกล่าว จึงนำไปสู่การจัดตั้งโครงการวิจัยพัฒนาการเศรษฐกิจไทย ที่รู้จักกันในชื่อ Townsend Thai Project