TMS: การสำรวจการย้ายถิ่นของประชากร (2537-2554)

สํานักงานสถิติแห่งชาติ ได้เริ่มดําเนินการสํารวจการยายถิ่นของประชากรครั้งแรกใน พ.ศ.2517 โดยทําการสํารวจเฉพาะการยายเข้าสู่
กรุงเทพมหานคร ต่อมาในปี 2526-2533 ได้ขยายขอบข่ายการสํารวจเป็นการย้ายเข้าสู่จังหวัดที่อยู่ในเขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร และ บางจังหวัดในส่วนภูมิภาคซึ่งกําหนดให้เป็นเมืองหลักในการพัฒนา และตั้งแต่ปี 2535 จนถึงปัจจุบัน ได้ขยายขอบข่ายการสํารวจให้ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ
วัตถุประสงค์
เพื่อรวบรวมข้อมูลที่สําคัญเกี่ยวกับการย้ายถิ่นของประชากร เพื่อให้มีข้อมูลสถิติในเรื่องดังกล่าว ใช้ประกอบในการกําหนดนโยบาย และ
จัดทําแผนเกี่ยวกับการกระจายตัวและการตั้งถิ่นฐานของประชากรในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตลอดจนใช้เป็นแนวทางในการวางแผนพัฒนาโครงการต่างๆ และแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการย้ายถิ่นของประชากร
ขอบข่ายและคุ้มรวมของการสํารวจ
ประชากรที่อยู่ในขอบข่ายการสํารวจ คือบุคคลที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนส่วนบุคคล และครัวเรือนพิเศษ ทั้งในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาลทั่วประเทศ
ระเบียบวิธีและการดำเนินงานสำรวจ
แผนการสุ่มตัวอย่าง
แผนการสุมตัวอยางที่ใช้เป็นแบบ Stratified Two – Stage Sampling โดยมีกรุงเทพมหานคร และจังหวัดเป็นสตราตัม ชุมรุมอาคาร (ในเขตเทศบาล) และหมู่บ้าน (นอกเขตเทศบาล) เป็นหน่วยตัวอย่างขั้นที่หนึ่ง ครัวเรือนสวนบุคคล และสมาชิกในครัวเรือนพิเศษ เป็นหน่วยตัวอย่างขั้นที่สอง
การจัดสตราตัม กรุงเทพมหานคร และ จังหวัดเป็นสตราตัม ซึ่งมีทั้งสิ้น 76 สตราตัม และในแต่ละสตราตัม ได้ทําการแบ่งออกเป็น 2 สตราตัมย่อย ตามลักษณะการปกครองของกรมการปกครอง คือ ในเขตเทศบาล และนอกเขตเทศบาล
การเลือกตัวอย่างขั้นที่หนึ่งจากแต่ละสตราตัมย่อย หรือแต่ละเขตการปกครอง ได้ทําการเลือกชุมรุมอาคาร / หมู่บ้านตัวอย่าง อย่างอิสระต่อกัน โดยให้ความน่าจะเป็นในการเลือกเป็นปฏิภาคกับจํานวนครัวเรือนของชุมรุมอาคาร / หมู่บ้านนั้น ๆ ได้จํานวนตัวอย่างทั้งสิ้น 5,796 ชุมรุมอาคาร / หมู่บ้าน จากทั้งสิ้นจํานวน 109,966 ชุมรุมอาคาร / หมูบ้าน ซึ่งกระจายไปตามภาค และเขตการปกครอง
การเลือกตัวอย่างขั้นที่สอง ในขั้นนี้เป็นการเลือกครัวเรือนตัวอย่างจากครัวเรือนส่วนบุคคลทั้งสิ้นในบัญชีรายชื่อครัวเรือน ซึ่งได้จากการนับจดในแต่ละชุมรุมอาคาร/หมู่บ้านตัวอย่าง ด้วยวิธีการสุ่มแบบมีระบบ โดยกําหนดขนาดตัวอย่างเป็น ดังนี้ คือ ในเขตเทศบาล : กําหนด 15 ครัวเรือนตัวอย่าง ต่อชุมรุมอาคาร นอกเขตเทศบาล : กําหนด 12 ครัวเรือนตัวอย่าง ต่อหมู่บ้าน ก่อนที่จะทําการเลือกครัวเรือนตัวอย่าง ได้มีการจัดเรียงรายชื่อครัวเรือนส่วนบุคคลใหมตามขนาดครัวเรือน ซึ่งวัดด้วยจํานวนสมาชิกในครัวเรือน และประเภทครัวเรือนเชิงเศรษฐกิจ ในกรณีของครัวเรือนพิเศษ ในขั้นนี้เป็นการเลือกสมาชิกตัวอย่างจากครัวเรือนพิเศษทุกครัวเรือนในแต่ละชุมรุมอาคาร/หมู่บ้านตัวอย่าง ด้วยวิธีการสุ่มแบบมีระบบจํานวนครัวเรือนส่วนบุคคลตัวอย่างทั้งสิ้นที่ต้องทําการแจงนับ จําแนกตามภาค และเขตการปกครอง

Questionnaire
Close Bitnami banner
Bitnami