On Progress Projects​​

โครงการดำเนินการประเมินผลกระทบ (impact evaluation) ของกระบวนการฟื้นฟูการเรียนรู้ของนักเรียนในจังหวัดสมุทรสาครโดยใช้การทดลองสุ่มแบบมีกลุ่มควบคุม (RCT) เพื่อศึกษาว่ากระบวนการฟื้นฟูที่เกิดจากความร่วมมือของมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม กสศ. และ UNICEF มีประสิทธิผลมากน้อยเพียงใด โดยคาดว่าจะมีโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการประมาณ 60 โรงเรียน โดยนักวิจัยจะใช้การสุ่มเพื่อแบ่งเป็นโรงเรียนในกลุ่มทดลอง (treatment group) 30 โรงเรียน และโรงเรียนในกลุ่มควบคุม (control group) 30 โรงเรียน ทีมวิจัยจะดำเนินการทดสอบทักษะของเด็กนักเรียนกลุ่มตัวอย่างก่อนเริ่มและหลังเริ่มการทดลอง (pre-test และ post-test) โดยใช้แบบทดสอบที่ความคล้ายคลึงกับแบบทดสอบมาตรฐานของประเทศไทย เช่น แบบทดสอบโอเน็ต แบบทดสอบ NT เป็นต้น คาดว่าจะมีเด็กนักเรียนกลุ่มตัวอย่างประมาณ 2,700 คน พร้อมทั้งเก็บข้อมูลครูประจำชั้น ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้ปกครอง โดยขอความร่วมมือให้ครูประจำชั้น ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้ปกครองกรอกแบบสอบถามด้วยตนเอง นอกจากนี้จะดำเนินการสังเกตการเรียนการสอน โดยทีมงานจะส่งนักวิจัยเข้าสังเกตการเรียนการสอนในห้องเรียนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 2 ครั้ง

PISA for Schools

โครงการ PISA for School ดำเนินการทดสอบสมรรรถนะนักเรียนที่มีอายุอยู่ระหว่าง 15-16 ปี จาก 80 โรงเรียนทั่วประเทศ โดยใช้แบบทดสอบที่มีมาตรฐานเดียวกับแบบทดสอบของโครงการประเมินสมรรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล หรือ PISA Test ซึ่งออกแบบโดยทีมวิชาการขององค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Cooperation and Development หรือ OECD) โดยคาดว่าจะมีนักเรียนที่เข้าร่วมการทดสอบกว่า 3,000 คน สำหรับสถานศึกษาที่มีกลุ่มตัวอย่างตั้งแต่ 42 คนขึ้นไป จะได้รับรายงานสรุปผลการทดสอบระดับสถานศึกษา (School Report) พร้อมข้อมูลเปรียบเทียบกับผลการทดสอบในระดับนานาชาติ โดยคาดหวังว่าสถานศึกษาจะนำเอาผลการทดสอบไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอนให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย (RIPED) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Cooperation and Development หรือ OECD)

โครงการลดความเหลื่อมล้ำด้วยการศึกษาปฐมวัยที่มีคุณภาพ (Reducing Inequality through Early Childhood Education: RIECE Thailand) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “ไรซ์ไทยแลนด์” (RIECE Thailand) เป็นโครงการวิจัยและพัฒนาที่มีพื้นฐานมาจากงานวิจัยของ ศาสตราจารย์ James J. Heckman นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล โครงการฯ นำเอากระบวนการเรียนการสอนของหลักสูตรไฮสโคปมาพัฒนาและส่งเสริมให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่เข้าร่วมโครงการฯ กว่า 40 แห่งนำไปใช้ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างองค์ความรู้เพื่อออกแบบนโยบายด้านการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ อันจะนำไปสู่การสร้างทุนมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพให้แก่เด็กและเยาวชนไทย จนสามารถสร้างสังคมที่เสมอภาคและเศรษฐกิจที่ยั่งยืนได้ในอนาคต

Longitudinal Sample

การสำรวจ/เก็บข้อมูลแบบตัวอย่างซ้ำสำหรับกลุ่มตัวอย่างของข้อมูลตัวอย่างซ้ำไรซ์ไทยแลนด์ (RIECE Panel Data) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลตัวอย่างซ้ำ (Panel/Longitudinal Data) โดยดำเนินการเก็บข้อมูลในพื้นที่เป็นเด็กกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,800 คน ในจังหวัดมหาสารคามและจังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นพื้นที่ของการสำรวจข้อมูลตัวอย่างซ้ำไรซ์ไทยแลนด์ (RIECE Panel Data) และดำเนินการเก็บข้อมูลเพิ่มเติมในจังหวัดลพบุรี (ภาคกลาง) และเป็นพื้นที่ที่มีแนวโน้มที่จะเป็นชุมชนเมืองมากกว่าจังหวัดมหาสารคามและจังหวัดกาฬสินธุ์ ยิ่งไปกว่านั้น จังหวัดลพบุรีได้เป็นส่วนหนึ่งของการสำรวจครัวเรือนแบบตัวอย่างซ้ำรายเดือน (Townsend Thai Monthly Data) ซึ่งเป็นการสำรวจแบบตัวอย่างซ้ำที่ต่อเนื่องยาวนานถึง 20 ปี และมีมาตรฐานระดับสากล แต่ได้หยุดการสำารวจไปเมื่อปี 2561

เพื่อให้การจัดเก็บข้อมูลสถานะความพร้อมในการเข้าสู่ระบบการศึกษาของเด็กปฐมวัยสำหรับประเทศไทยเป็นไปอย่างต่อเนื่อง มีคุณภาพ มาตรฐานระดับนานาชาติ และครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัดและกรุงเทพมหานคร สถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาจึงเห็นว่า ควรมีการดำเนินงานพัฒนาเครื่องมือการสำรวจ และจัดทำเป็นฐานข้อมูลฯ ออนไลน์ที่สมบูรณ์ ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ที่จะสนับสนุนข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อแนวทางการพัฒนาเด็ก ปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม และสามารถเติบโตเป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพของประเทศ โดยในระยะนี้จะดำเนินการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเด็กปฐมวัยที่เรียนในระดับอนุบาล 3 จำนวนประมาณ 500 คน ต่างจังหวัดจำนวน 33 จังหวัดใน 4 ภูมิภาค

Close Bitnami banner
Bitnami