“เราเป็นกังวลว่าเด็กเล็กๆ กำลังถูกกระทบเยอะมาก จากปัญหารอบด้านในสถานการณ์วิกฤตครั้งนี้ โดยที่ลึกๆ แล้วเขาอาจจะไม่รู้ตัว เราเป็นห่วงว่าระยะยาวจะทำให้เขาไม่สามารถพัฒนาได้อย่างเต็มที่เท่ากับคนรุ่นอื่นๆ”
‘วอยซ์’ คุยกับ รศ.ดร.วีระชาติ กิเลนทอง คณบดีคณะการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เพื่อหาทางยุติวิกฤตที่จะลามไปยังอนาคต
นโยบายปิดโรงเรียนช่วงโควิด-19 ส่งผลให้เกิด “ภาวะการเรียนรู้ถดถอย” ซึ่งกระทบกับการเรียนรู้และการฝึกทักษะต่าง ๆ ของเด็กเล็กอย่างรุนแรง หากไม่เร่งแก้ไข ก็จะเกิดเป็นปัญหาใหญ่ที่กระทบสังคมเป็นวงกว้างอย่างแน่นอน
สถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (RIPED)
ร่วมกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)
และองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD)
ได้จัดทำโครงการประเมินสมรรถนะผู้เรียนตามมาตรฐานสากลเพื่อการพัฒนาสถานศึกษา (PISA for School) เพื่อให้สถานศึกษาสามารถนำเอาผลการประเมินสมรรถนะของนักเรียนที่สามารถนำไปเปรียบเทียบกับมาตรฐานระดับนานาชาติไปใช้ในการพัฒนาสถานศึกษา โดยใช้ข้อสอบที่มีความใกล้เคียงกับข้อสอบของ PISA ในการประเมินสมรรถนะของนักเรียนที่มีอายุระหว่าง 15-16 ปี จากสถานศึกษาทั่วประเทศ
“หลักสูตรไฮสโคป”
(อ่านเนื้อหาย่อ) โดย ดร.แอนน์ เอส. เอพสไตน์ และแมรี่ โฮมานน์
ผู้เชี่ยวชาญจากมูลนิธิไฮสโคป (HighScope Foundation)
แปลโดย อ.สุดาเรศ ศิริสิทธิ์ธนภาค และทีมงานไรซ์ไทยแลนด์
(ราคาจำหน่ายเล่มละ 790 บาท)
เกือบ2ปีแล้วที่เด็กๆไม่ได้ไปโรงเรียนจากสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 ที่ไม่มีทีท่าว่าผู้ติดเชื้อจะมีจำนวนลดลง การเรียนออนไลน์สำหรับเด็กเล็ก อาจจะไม่ใช่คำตอบที่ดีนัก รายการ coffee break ช่วง tonight variety จะพาคุณผู้ฟังไปพูดคุยกับ
รศ.ดร.วีระชาติ กิเลนทอง คณบดี คณะการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย “การเรียนออนไลน์ ส่งผลต่อทักษะการเรียนรู้ถดถอย? ผู้ปกครองช่วยเสริมอย่างไรได้บ้าง? ทางออกคือเรียนชดเชย? สิ่งสำคัญขณะนี้คืออะไร”
ติดตามได้ ที่ FM96.5 คลื่นความคิด อสมท
งานวิจัยในหลายประเทศ ระบุว่า แม้เด็กทุกวัยได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ทั้งหมด แต่ที่ถดถอยหนักที่สุดและไม่สามารถเรียนผ่านหน้าจอออนไลน์ได้ดี คือ เด็กปฐมวัย 2-6 ปี นักวิชาการด้านการศึกษาหลายคนจึงมีข้อเสนอให้เร่งเปิดเทอมเด็กอนุบาลเป็นอันดับแรก เพราะเป็นช่วงโอกาสทองของสมองส่วนหน้า Executive Function หรือ EF ที่พัฒนาเรื่องความคิดและการใช้ชีวิต ที่จะติดตัวเด็กไปตลอด จึงไม่ควรหยุดกระตุ้น ที่น่าหนักใจ คือ ผู้ปกครองในพื้นที่กรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ ไม่มั่นใจให้ลูกไปโรงเรียน ขณะเดียวกันก็ไม่มั่นใจว่าจะเสริมสร้างการเรียนรู้ให้เด็กได้ดีแค่ไหน จึงเป็นที่มาให้เครือข่ายบางกอกนี้ดีจัง พยายามสร้างเครื่องมือการเรียนรู้ เพื่อช่วยบรรเทาการให้เด็กเล็กในชุมชนเมือง ได้เข้าถึงการเรียนรู้
“การจัดการความขัดแย้งร่วมกับเด็กเล็ก” (อ่านเนื้อหาย่อ) โดย เบ็ตซี่ อีแวนส์
ผู้เชี่ยวชาญจาก HighScope Foundation แปลโดย ดร.พิศมร กิเลนทอง
(ราคาจำหน่ายเล่มละ 590 บาท)

30 กันยายน - 2 ตุลาคม 2563 | การประชุมแนวทางการขับเคลื่อนหลักสูตรไฮสโคปตามแนวทางไรซ์ไทยแลนด์ในโรงเรียนเอกชน ณ โรงแรมรอยัลริเวอร์ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร
ไรซ์ไทยแลนด์ขอขอบคุณสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) คณะผู้บริหารโรงเรียนเอกชน คุณครู และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่าน ที่มีส่วนให้เกิดงานในครั้งนี้ และจะพยายามอย่างเต็มที่ที่จะนำปัญหา อุปสรรคที่ได้รับการสะท้อนจากทุกๆ ท่านไปแก้ไข เพื่อดำเนินโครงการในระยะต่อไปให้ดียิ่งขึ้น ในอนาคต ไรซ์ไทยแลนด์หวังว่าจะได้เห็นเด็ก ๆ ในสถานศึกษาทุกสังกัด ได้เรียนหลักสูตรไฮสโคปตามแนวทางของไรซ์ไทยแลนด์ ได้เรียนรู้อย่างมีชีวิตชีวา และมีความพร้อมที่จะเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพของสังคมต่อไป