ขอเชิญเข้าร่วมสัมมนาในหัวข้อ “Cross-Cultural Gift-Giving”
โดย Assistant Professor Dr. Theeranuch Pusaksrikit (Department of Marketing Chulalongkorn Business School) ในวันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2563 เวลา 10.00-11.30 น. ณ ห้องประชุมศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยชิคาโก-มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย อาคาร 21 ชั้น7
ขอเชิญเข้าร่วมสัมมนาในหัวข้อ “Unveiling Frontline Employees’ Brand Construal Types During Corporate Brand Promise Delivery: A Multi-Study Analysis” and “An Interpretive Enquiry into CEO Personal Branding on Social Media” โดย ดร.กัญญาพัชร ปานใจศรี จากวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ในวันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม 2563 เวลา 10.00-11.30 น. ณ ห้องประชุมศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยชิคาโก-มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย อาคาร 21 ชั้น7

30 กันยายน - 2 ตุลาคม 2563 | การประชุมแนวทางการขับเคลื่อนหลักสูตรไฮสโคปตามแนวทางไรซ์ไทยแลนด์ในโรงเรียนเอกชน ณ โรงแรมรอยัลริเวอร์ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร
ไรซ์ไทยแลนด์ขอขอบคุณสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) คณะผู้บริหารโรงเรียนเอกชน คุณครู และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่าน ที่มีส่วนให้เกิดงานในครั้งนี้ และจะพยายามอย่างเต็มที่ที่จะนำปัญหา อุปสรรคที่ได้รับการสะท้อนจากทุกๆ ท่านไปแก้ไข เพื่อดำเนินโครงการในระยะต่อไปให้ดียิ่งขึ้น ในอนาคต ไรซ์ไทยแลนด์หวังว่าจะได้เห็นเด็ก ๆ ในสถานศึกษาทุกสังกัด ได้เรียนหลักสูตรไฮสโคปตามแนวทางของไรซ์ไทยแลนด์ ได้เรียนรู้อย่างมีชีวิตชีวา และมีความพร้อมที่จะเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพของสังคมต่อไป
“หลักการเรียนรู้ระดับปฐมวัยง่าย ๆ เด็กจะเรียนรู้เมื่อคนสอนกับคนเรียนอยู่ในระดับเดียวกัน ครูต้องสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็ก เพราะเด็กจะเรียนรู้จากความไว้วางใจ” -ดร.วีระชาติ กิเลนทอง-
ข้อมูลเด็กปฐมวัยแบบตัวอย่างซ้ำไรซ์ไทยแลนด์ (RIECE Panel Data) เป็นข้อมูลเด็กปฐมวัยแบบตัวอย่างซ้ำที่เริ่มสำรวจตั้งแต่ปี 2558 จนถึงปัจจุบัน โดยวางแผนที่จะจัดเก็บข้อมูลทุกปี ปีละรอบ ต่อเนื่องไปทุกปี ข้อมูลชุดนี้ มีความโดดเด่นในแง่ความสมบูรณ์และครอบคลุมทุกมิติของเด็กปฐมวัยรายบุคคล ทั้งที่เกี่ยวข้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน การศึกษาและสุขภาพของเด็กปฐมวัย รูปแบบและพฤติกรรมการเลี้ยงดู และคุณภาพการเรียนการสอนของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย
“ปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้น ระหว่างคุณครู ที่กระทำต่อเด็ก นักวิชาการด้านการศึกษาปฐมวัย สะท้อนมุมมองการแก้ปัญหา เรื่องนี้ว่าผู้บริหารโรงเรียน ต้องมีเครื่องมือในการตรวจสอบ ประเมินความพร้อมของครูต่อเนื่อง โดยเฉพาะการหาหลักสูตรที่เหมาะสมกับวิสัยทัศน์ของโรงเรียน รวมถึงแนะนำให้ผู้ปกครองพิจารณาโรงเรียนจากพฤติกรรมของครู มากกว่าชื่อเสียงและค่านิยม” – รศ.วีระชาติ กิเลนทอง