BTSS: สำรวจธุรกิจการค้าและบริการ (2535-2553)
ประเทศไทยมีการจัดทําสํามะโนการเกษตรมาแล้ว 5 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2493 ต่อมาใน พ.ศ. 2506, 2521, 2536 และ 2546 เพื่อให้มีข้อมูลสถิติ สํานักงานสถิติแห่งชาติ ได้ดําเนินการสํารวจธุรกิจทางการค้าและธุรกิจทางการบริการประจําปีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจทางการค้าและธุรกิจทางการบริการเพื่อเป็นประโยชน์สําหรับภาครัฐในการกําหนดนโยบายทางเศรษฐกิจของประเทศ และสําหรับภาคเอกชนใช้ประกอบการวางแผนการลงทุน เนื่องจากวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีบทบาทที่สําคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้นเพื่อมีข้อมูลนําไปใช้ประโยชนประกอบการจัดทําแผนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสํานักงานสถิติแห่งชาติจึงได้นําเสนอข้อมูล โดยจําแนกตามขนาดของสถานประกอบการ 6 กลุ่ม คือ คนทํางาน 1 – 15 คน 16 – 25 คน 26 – 30 คน 31 – 50 คน 51 – 200 คน และตั้งแต่ 201 คนขึ้นไป เพื่อสามารถนําไปประยุกต์ใช้กับการจัดทําแผนดังกล่าวได้
วัตถุประสงค์
เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจทางการค้าและธุรกิจทางการบริการได้แก่จํานวนประเภทและขนาดของสถานประกอบการธุรกิจจำนวนคนทํางาน ลูกจ้าง และค่าตอบแทนแรงงาน มููลค่าซื้อสินค้าเพื่อการจําหน่ายหรือให้บริการ ค่าใช้จ่ายในการดําเนินงาน รายรับสินค้าคงเหลือต้นปีและปลายปี และมููลค่าสินทรัพย์ถาวรของสถานประกอบการ เป็นต้น ข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อภาครัฐในการกําหนดนโยบายทางเศรษฐกิจของประเทศ และสําหรับภาคเอกชนใช้ประกอบการตัดสินใจในการลงทุนและการขยายกิจการ ทั้งในระดับภาค และระดับประเทศ
ขอบข่ายและคุ้มรวมของการสํารวจ
สถานประกอบการที่อยู่ในขอบข่ายและคุ้มรวมของการสํารวจนี้ ได้แก่ สถานประกอบการธุรกิจที่มีคนทํางานตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ซึ่งตั้งอยู่ในเขตเทศบาล เมืองพัทยาและนอกเขตเทศบาล เฉพาะที่มีรูปแบบการบริหารงานเป็นองค์การบริหารส่นตําบล (อบต.) ทั่วประเทศ และดําเนินธุรกิจตามการจัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจทุกประเภทตามมาตรฐานสากล (International Standard Industrial Classification of All Economic Activities : ISIC Rev.3) ประเภท G, H, K และ O
ระเบียบวิธีและการดำเนินงานสำรวจ
สถานประกอบการที่เข้าข่ายการสารวจ คือ สถานประกอบการที่มีจํานวนคนทํางานในสถานประกอบการ ตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ซึ่งกระจายอยู่ใน 53 ประเภทธุรกิจฯ (รหัส 4 หลัก) แผนการสุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นแบบ Stratified Systematic Sampling โดยมีกรุงเทพมหานครและภาคเป็นสตราตัม สถานประกอบการเป็นหน่วยตัวอย่าง